บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นประยุกต์

บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นประยุกต์ เจ้าของบ้านนี้มีที่ดินผืนหนึ่งในเขตราคุโฮคุของเมืองเกียวโต ซึ่งอาศัยอยู่จากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่สมัยเอโดะตอนปลาย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนสร้างบ้านและที่ทำงานบนที่ดินนี้ จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ก็มีทั้งผู้คนจากที่อื่น ๆ รวมถึงสิ่งก่อสร้างใหม่ ๆ เริ่มเข้ามาและไปตามความจำเป็น ทำให้ความรู้สึกรอบ ๆ
บ้านเปลี่ยนไป ในแง่ของการมองเรื่อง “บ้าน” เจ้าของเห็นว่าเป็นสิ่งก่อสร้างชั่วคราวก็จริงและที่ดินเป็นแบบถาวร แต่เมื่อบ้านรวมกับผืนดินกลับรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันที่ยังผูกพันอยู่ในความทรงจำ พวกเขาจึงสร้างบ้านเดี่ยวหลังใหม่ ออกมาเป็นบ้านญี่ปุ่นทันสมัยที่ยังอบอวลกลิ่นอายดั้งเดิมจากรุ่นสู่รุ่นที่พักสุพรรณบุรี
ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่น่ารักและมีเอกลักษณ์โดดเด่น

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่น่ารักและมีเอกลักษณ์โดดเด่นในหลายๆอย่าง ทั้งในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว อาหารการกิน เครื่องสำอาง ของใช้ต่างๆ เป็นประเทศที่คนไทยชอบไปมากอันดับต้นๆ แต่ที่โดดเด่นและสวยงามอีกอย่างหนึ่ง คือ พวกสถาปัตยกรรมอย่างบ้านเรือน ร้านค้า
ที่มีความสวยงามบวกความคิดสร้างสรรค์จนมาเป็นแบบบ้านต่างๆที่เราพบเห็นในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในแต่ละพื้นที่ อย่างทำเลในเมืองหรือชนบทก็จะดีไซน์ที่แตกต่างกันไป แต่สภาพภูมิประเทศของญี่ปุ่นเป็นเกาะ และมีขนาดไม่ใหญ่ พื้นที่ใช้สอยมีจำกัด การสร้างบ้านสักหลังจึงต้องคำนึงถึงรูปแบบและเน้นใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บ้านของชาวญี่ปุ่นในสมัยก่อน จะถูกสร้างด้วยวัสดุที่เป็นไม้และกระดาษเกือบทั้งหลัง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ ๆ คือเป็นบ้านสำหรับชาวเกษตร และบ้านสำหรับชาวเมือง บ้านของชาวเกษตรมีหลังคาเป็นหญ้า(ฟางข้าวหรือฟางพืช Kaya) ถ้าคุณไปต่างจังหวัดก็คงยังพบเห็นอยู่นะคะ บ้านของชาวเมือง(รวมถึงเจ้าเมืองสมัยนั้น) มีหลังคาเป็นกระเบื้อง

ปัจจุบันนี้บ้านญี่ปุ่นที่สร้างใหม่ก็จะมีแต่หลังคากระเบื้องแล้ว และในเมืองใหญ่ๆ ก็จะมีพวกอพาร์ทเมนท์ และคอนโดมิเนียมที่ใช้ปูนซิเมนต์และเหล็กเป็นวัสดุก่อสร้างเยอะเหมือนกัน แต่ถ้าได้เข้าไปดูภายในบ้านแล้ว จะสังเกตุได้ว่า โครงสร้างภายในของบ้าน และการตกแต่ง หลายๆอย่างยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นดั้งเดิมเกือบทุกบ้าน
สเน่ห์ของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นคือการสร้างบ้านให้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ รอบๆบ้านจะต้องมีต้นไม้ สวนดอกไม้ พืชผักสวนครัว ก้อนหิน น้ำตก หรือธารน้ำ เป็นต้น เอกลักษณ์ของการดีไซน์บ้านแบบชาวญี่ปุ่นคือ การใช้ไม้ระแนงซีกเล็กๆเรียงกันเป็นแผง ใช้ตกแต่งส่วนต่างๆของตัวบ้าน บ้านแบบญี่ปุ่นต้องมีพื้นยกสูงประมาณ 30~60cm แต่จะไม่สูงเท่ากับบ้านแบบไทยพื้นยกที่ต้องขึ้นบันได สำหรับการยกพื้นของบ้านญี่ปุ่นนี้ ช่องว่างใต้พื้น (En-noshita) ของบ้านมีหน้าที่ระบายความชื้นเพราะว่าภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่นมีความชื้นมาก ซึ่งจุดนี้ค่อนข้างจะคล้ายๆกับหลักของการสร้างบ้านในไทยเหมือนกัน
บ้านญี่ปุ่นยุคใหม่ ที่ยังอบอวลกลิ่นอายดั้งเดิมจากรุ่นสู่รุ่น

instudio ได้เริ่มตีโจทย์บ้านโดยพิจารณารูปแบบที่อยู่อาศัยใหม่ ประกอบกับการย้อนเวลากลับไปอีกเล็กน้อยกว่ายุคสมัยใหม่เล็กน้อย ว่าลักษณะสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเป็นอย่างไร จากนั้นจึงนำมาลดทอนรายละเอียด ใส่ฟังก์ชันใหม่ ๆ ลงไปบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทชุมชนเมืองและการอยู่อาศัยมากขึ้น โดยผลลัพธ์เป็นบ้านสองชั้น
ภายนอกเป็นบ้านหลังคาทรงจั่วที่มีชายคายาวและมุงกระเบื้อง เป็นลอยหยักคล้ายกระเบื้องโบราณ มีผนังไม้และรูปทรงคล้ายบ้านดั้งเดิมของเกียวโต และในขณะเดียวกันสถาปนิกก็พยายามทำตัวให้ห่างจากบรรยากาศที่ปิดกั้นแบบบ้านสมัยใหม่ ด้วยการแทรกหน้าต่างกระจกเข้าไปเพิ่มความรู้สึกเปิดมากขึ้น
แต่ในขณะที่ต้องการเปิดบานรับแสงสว่าง เจ้าของก็ยังต้องการความเป็นส่วนตัว และสเปซว่าง ๆ ซึ่งเหมือนจะเป็นความต้องการที่ตรงกันข้าม จึงโจทย์ที่ต้องตีให้แตก ซึ่งทีมงานแก้ปัญหาด้วยการทำระบบผนัง 2 ชั้นที่ด้านหน้าของบ้าน ชั้นนอกเป็นฉากไม้ที่เราเห็นเป็นจังหวะ
มีความพิเศษคือบานไม้นี้วางอยู่บนรางเลื่อนสามารถเลื่อนไปตรงจุดที่ต้องการพรางแสงหรือบังสายตาได้ ถัดจากฉากไม้จะเป็นที่ว่างใช้เป็นทางเดินหรือนั่งเล่น ก่อนไปสู่ผนังชั้นที่ 2 เป็นประตูบานเลื่อนทำจากกระจกใสตลอดแนว ประตูหน้าต่างที่มีขนาดเหมาะสมในแนวที่ถูกต้อง ทำให้ภายในโปร่งและมีแสงสว่างเพียงพอ และยังมีพื้นที่โล่งโปร่งพร้อมความเป็นส่วนตัวได้ครบทุกความต้องการ
ด้านหลังบ้านจะไม่มีบานไม้ปิดกั้น เพราะเป็นส่วนที่แน่ใจว่าไม่มีสายตาผู้คนผ่านไปมา เราจะเห็นลักษณะการสร้างบ้านที่พื้นและเฉลียงทางเดินทั้งหมดลอยอยู่เหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นหนึ่งลักษณะที่จะพบได้ในบ้านแบบดั้งเดิม คล้ายบ้านมีใต้ถุนของไทย แต่บ้านญี่ปุ่นพื้นจะสูงแค่ประมาณ 50 ซม. ไม่สูงมาก ช่องว่างใต้พื้น (En-noshita) จะช่วยระบายอากาศ ลดความชื้นใต้บ้านที่จะทำให้พื้นปูเสื่อทาทามิเป็นราได้ง่าย ทางเดินรอบบ้านที่ยกสูงลอยจากพื้นนี้จะมีจุดเชื่อมต่ออยู่กับห้องโถงขนาดใหญ่ หรือ ส่วนของห้องนั่งเล่น ทำให้ห้องสำคัญๆ ภายในบ้านมีพื้นที่ด้านนอกออกที่เชื่อมต่อออกมารับลมและแสงธรรมชาติได้บ้านสีขาวกับผนังช่องลม

ในบ้านโบราณจะมีส่วนห้องที่มีพื้นดินเปล่า (Doma) ใช้เป็นห้องครัว เตาไฟ หรือทำอาหาร (แต่พบเห็นได้ยากแล้วเพราะจะอยู่ตามชนบท) และส่วนที่ยกพื้นขึ้นเป็นไม้ และห้องนั่งเล่นที่จะปูเสื่อทาทามิ บ้านนี้มีการใส่ระดับของบ้านเช่นกัน ในส่วนของครัวจะต่ำลงพื้นเป็นคอนกรีตนำเสนอแทนพื้นดิน ส่วนพื้นที่นั่งเล่นจะสูงกว่าและปูด้วยไม้ ทั้งสองส่วนต่อเนื่องเป็นห้องโถงใหญ่แบบแปลนบ้านยุคใหม่ (open plan) เป็นการปรับประยุกต์ใช้สิ่งเก่าและใหม่ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัวและใช้งานได้จริง
แน่นอนว่าบ้านในญี่ปุ่นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือความเรียบง่ายและความชิดใกล้ธรรมชาติ ที่นี่นอกจากจะมีผนังกระจกที่เปิดมุมมองออกรับธรรมชาติรอบบ้านที่จัดไว้ให้มองได้ทุกวัน ทุกฤดูกาลแล้ว ยังมีต้นไม้ปลูกแทรกอยู่ในตัวบ้านกระจายอยู่ทุกมุมด้วย
บนชั้นสองที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวตกแต่งด้วยไม้อัดบริเวณผนังและเพดานทั้งหมดในรูปแบบบ้านยุคใหม่ที่นิยมความเรียบง่าย และใช้งานไม้สำเร็จรูปแบบอื่นๆ นอกจากไม้จริงประกอบด้วย แต่บ้านก็ยังคงคอนเซ็ปความโล่งกว้าง สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งจะคล้ายบ้านโบราณที่มีเพียงประตูบานเลื่อนแยกสัดส่วนห้องอย่างหลวมๆ และปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากกลาย เช่น สามารถเปิดประตูรวมเป็นห้องใหญ่ห้องเดียวได้ ตอนกลางวันใช้เป็นห้องนั่งเล่นทานข้าว กลางคืนใช้เป็นห้องนอน
สำหรับคนที่ยังหลงไหลเสน่ห์ของบ้านในยุคสมัยเก่า เมื่อต้องการสร้างบ้านใหม่ก็อาจจะการประยุกต์ใช้บ้านที่ยังประทับใจนั้น ๆ เข้ากับรูปแบบฟังก์ชันและวัสดุใหม่ๆ ได้ โดยคงบางส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น รูปทรงบ้าน หลังคา ผนัง ฟังก์ชันภายในบางอย่าง แล้วนำมาปรับลดทอนให้ดูเรียบ ง่าย ทันสมัยขึ้น เหมือนบ้านในไทยก็จะมี บ้านทรงไทยประยุตก์ บ้านล้านนาประยุกต์ ที่จะทำให้บ้านมีกลิ่นอายของยุคสมัยที่ยังมีชีวิตต่อไปอย่างงดงามในอนาคต คลิ๊กที่นี่