รีวิวบ้านแฝด

รีวิวบ้านแฝด Twin Peaks บ้านแฝดสไตล์นอร์ดิก ชัดเจนในความอบอุ่นถ้าถามผู้เขียนว่า บ้านแบบไหนที่ชื่นชอบมองแล้วรู้สึกผ่อนคลายและไม่เบื่อ ก็ต้องบอกว่ามีหลาย ๆ แนวเลยครับ ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็คงจะตอบสไตล์คันทรี หรือสไตล์ญี่ปุ่นโมเดิร์น แต่นาทีนี้ขอแอบเทใจให้กับบ้านสไตล์นอร์ดิกที่เส้นสายเฉียบคม โทนสีฉูดฉาดเหมือนบ้านโมเดิร์น แต่กลับมีกลิ่นอายความอบอุ่นของบ้านฟาร์มที่มีความเป็นธรรมชาติและแสงแดดอยู่เต็มไปหมด เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” จึงตามหาแบบบ้านนอร์ดิกสำหรับคนที่มีฝันเดียวกันไว้ให้เผื่อจะสร้างบ้านแบบนี้ในสักวันครับ คลิ๊กที่นี่
บ้านสแกนดิเนเวียนใส่ความสวยคูณสอง
บ้านริมทะเลสาบตั้งอยู่ใน Whitefish, Montana สหรัฐอเมริกา โครงการนี้กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ Twin Peaks ซึ่งออกแบบเป็นอาคารสไตล์สไตล์สแกนดิเนเวียสองชั้นหลังคาจั่วสูงในบริเวณปลายทั้งสองด้าน ส่วนตรงกลางเป็นอาคารชั้นเดียว ที่เป็นศูนย์กลางการใช้งานส่วนรวมหลัก ๆ มีช่องว่างที่เป็นห้องผิงไฟที่มีผนังระแนงเปิดสร้างความเชื่อมต่อระหว่างในร่มและกลางแจ้ง ทั้งบ้านห่อหุ้มด้วยไม้ในท้องถิ่นที่อบอุ่น และโทนสีที่สร้างความรู้สึกสงบตั้งแต่แรกเห็น
ทางเข้าหลักที่ทำมุมเฉียง ๆ ก่อด้วยอิฐทาสีขาวตัดกับกรอบสีดำ ช่วยให้มองเห็นมุมของถนนและเป็นจุดพักก่อนเข้าบ้านที่ให้ความรู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนตัว ด้านหน้าแต่ละห้องจะมีระเบียงสำหรับให้เจ้าของห้องออกมาชมทิวทัศน์ของทะเลสาบที่อยู่ใกล้เคียง
ให้ธรรมชาติคือทุกคำตอบ

คุณสมบัติที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์นอร์ดิกหรือสแกนดิเนเวียนคือ การเลือกใช้ไม้เป็นวัสดุโครงสร้างและตกแต่งภายใน เนื่องจากตัวบ้านออกแบบไม่มีชายคา ผนังบ้านภายนอกในส่วนที่เป็นไม้จึงต้องเลือกไม้ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศและความชื้น อาทิ ไม้ซีดาร์ และวิธีการถนอมไม้ด้วยไฟที่มาจากภูมิปัญญาญี่ปุ่นที่เรียกว่า shou sugi ban ซึ่งทำให้ไม้ทนทานขึ้น มีคุณสมบัติกันน้ำ ทนไฟ อีกทั้งยังเป็นการทำสีดึงลายไม้ไม้ให้เข้มขึ้นจนเกือบดำด้วยวิถีธรรมชาติด้วยแต่งสวน minimal
“เราเดินชมที่ผืนนี้อย่างน้อยสิบครั้งหรือมากกว่านั้นก่อนที่จะสรุปโครงร่างอาคาร” Marty Beale เจ้าของร่วมของ MDI กล่าว “เมื่อพิจารณาจากสถานที่ตั้ง เราต้องการให้การออกแบบและสร้างคำนึงถึงมุมมอง การปกป้องบ้านจากแสงอาทิตย์ และการรักษาความอบอุ่น ความปลอดภัยจากอัคคีภัย” นี่เป็นที่มาของการเลือกใช้วัสดุ ผนังหลายจุดใช้วัสดุเมทัลชีทที่จะช่วยให้บ้านมีความปลอดภัย ประกอบกับการจัดจังหวะและทิศทางการใส่ช่องเปิด โดยนักออกแบบมองว่าการจัดภูมิทัศน์บ้านจะช่วยสร้างพื้นที่ป้องกันเพื่อรองรับความปลอดภัยจากอัคคีภัยของโครงสร้างได้ในระดับหนึ่ง
ภูมิทัศน์เป็นส่วนหนึ่งของบ้าน
พื้นที่นั่งเล่นกึ่งกลางแจ้งที่จัดไว้ระหว่างปีกบ้านทั้งสอง ซึ่งจะมีผนังด้านหลังโล่งให้มองเห็นและสัมผัสกับธรรมชาติรอบ ๆ ได้ ส่วนด้านหนึ่งมีระแนงป้องกันแสงแดดที่มากเกินไปในช่วงปลายฤดูร้อน ส่วนผนังด้านหลังอาคาร 2 ชั้นจะมีผนังมุ้งลวดและไม้ระแนงพาดไปตามบันไดด้านนอกเป็นฉากกั้นความเป็นส่วนตัว Twin Peaks

สงบและอบอุ่นคือหัวใจ
เมื่อก้าวเข้ามาภายในบ้านจะพบกับความรู้สึกสว่างโปร่งโล่งเต็มไปด้วยแสงอาทิตย์ บ้านสไตล์นอร์ดิกในโซนนั่งเล่นที่อยู่บริเวณเดียวกับห้องครัว มุมทานอาหาร ที่นำเสนอในอารมณ์ Simplistic Soul เรียบง่าย สงบ อบอุ่น กับวัสดุที่เป็นธรรมชาติโทนสีเอิร์ทโทน ไม่ว่าจะเป็น โซฟาหนังสีน้ำตาลแดง โต๊ะทานข้าวไม้สีอ่อน ๆ ผนังครัวตกแต่งอิฐโชว์แนวทาสีขาวแบบ homey และชุดครัวสีเขียวพาสเทล
ตามสไตล์การใช้ชีวิตของชาวสแกนดิเนเวียนที่รักในแสง ธรรมชาติ และชอบการใช้ชีวิตในวันพักผ่อนอยู่กับบ้าน เสน่ห์ของบ้านสไตล์สแกนดิเนเวีย จุดเด่น คืองานการออกแบบเส้นสายที่ง่ายๆ ผสานความเป็นโมเดิร์นได้อย่างลงตัว เลือกใช้วัสดุที่ให้อารมณ์ความรู้สึกอบอุ่นใกล้ชิดกับธรรมชาติ ภายในโปร่งโล่งมีแสงสว่างพอเพียง และการจัดสัดส่วนพื้นที่ที่ตอบสนองการใช้งานจริง
อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมเขตหนาวอาจมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่ได้เหมาะที่จะสร้างในเขตร้อน จึงต้องมีการปรับประยุกต์ให้บ้านใช้งานได้ดีขึ้น อาทิ บ้านที่ต้องการความเรียบ ไม่มีชายคา เหมาะกับการใช้วัสดุหลังคาใช้กระเบื้องแบบแผ่นเรียบหรือแผ่นยางมะตอยที่ทนความชื้นได้ดี วัสดุผนังที่ต้องมีคุณสมบัติทนสภาพอากาศ สะท้อนความร้อนได้ในขณะที่ไม่เก็บความชื้น เป็นต้น
ข้อดีของที่อยู่อาศัย บ้านสไตล์นอร์ดิก
ท่ามกลางชีวิตคนเมืองที่วุ่นวาย เราเชื่อว่าการใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ บนความเรียบง่ายย่อมเป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝัน และที่อยู่อาศัยสไตล์นอร์ดิกเองก็เป็นตัวเลือกที่สามารถเข้ามาตอบโจทย์นี้ให้กับทุกคนได้ เพราะข้อดีของที่อยู่อาศัยสไตล์นอร์ดิกนั้นคือการที่ผู้อยู่จะได้ความใกล้ชิดธรรมชาติ ความสบายใจที่จะนำพาความสุขมาให้กับเรานั่นเอง
การออกแบบตัวอาคารลักษณะเป็นทรงเรขาคณิตที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนหรือเกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ หลังคาทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่ง สบาย การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความสวยงาม เน้นช่องแสงจากกระจกในการรับแสงจากธรรมชาติ
การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหลลงด้านล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย นอกจากนี้โครงหลังคาที่สูงยังช่วยให้ภายในตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา
เน้นความเป็นธรรมชาติ “บรรยากาศ” ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มักตกแต่งด้วยโทนสีของธรรมชาติ อาทิ การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น การเลือกวัสดุตกแต่งผนังที่คุมโทน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง หรืออีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจจากวัสดุตกแต่งบ้านตามสไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรักในธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณ์เด่น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น
บ้านแฝด ชิดติดกัน แต่เป็นส่วนตัวเหมือนบ้านเดี่ยว

ทางเลือกในการสร้างบ้านในยุคนี้มีให้เลือกมากมายตั้งแต่บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม คอนโด หรือบ้านแฝดที่สร้างติดกันเหมือนฝาแฝดอินจัน เป็นอาคารที่อยู่อาศัยที่มีผนังด้านหนึ่งติดกัน หรือสร้างติดต่อกันสองบ้าน แต่บ้านแฝดยุคนี้อาจจะเป็นบ้านที่แยกผนังเชื่อมกันแค่คานใต้ดิน เพื่อจะได้ขายราคาที่ถูกลง ซึ่งทางหนึ่งก็เป็นประโยชน์แก่คนซื้อ โดยเฉพาะคนที่อยากบ้านเดี่ยวแต่สู้ราคาไม่ไหว ก็ลองมองหาซื้อบ้านแฝดแทนราคาต่ำกว่า แต่ได้พื้นที่ใช้สอยพอๆ กัน และเป็นส่วนตัวเหมือนอยู่บ้านเดี่ยว เหมือนบ้านแฝดในออสเตรเลียหลังนี้ ที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ
บ้านแฝดโมเดิร์นแยกผนัง ดีไซน์เรียบง่าย

โครงการบ้านแฝด 2 หน้าตาเหมือนกันนี้ แต่ละหลังพื้นที่ 132.4 m2 ตั้งอยู่บริเวณชานเมืองด้านนอกของ Merewether (Newcastle, NSW Australia) เป็นบ้าน 2 ชั้นที่มีผนังและหลังคาส่วนหนึ่งติดกัน ด้านหน้ามีบริเวณบ้านพร้อมที่จอดรถและทางเข้าที่ปูแผ่นทางเดินนำทางยาวมาที่ประะตูบ้านแต่ละหลัง ชั้นล่างมี 1 ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องนอน และพื้นที่ห้องนอนเพิ่มเติมที่ชั้นบนสุด โครงสร้างหลักของตัวบ้านทำจากคอนกรีตสำเร็จรูป แทรกด้วยไม้อัด Birch ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในออสเตรเลีย แสงสว่างในบ้านเลือกใช้หลอดไฟพลังงานต่ำ LED
บ้านแฝดคืออะไร ?
บ้านแฝด เป็นบ้าน 2 หลังที่มีส่วนที่เชื่อมกันตรงกลาง แต่มีรั้วและทางเข้า-ออกแยกกันชัดเจน โดยแต่ก่อนบ้านแฝดใช้ผนังชิ้นเดียวกัน ทำให้รู้สึกไม่ค่อยเป็นส่วนตัวมากนัก แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาแบบให้หลากหลาย ที่น่าสนใจเลยคือแบบที่คานเชื่อมกันชั้นใต้ดิน ดูผิวเผินเหมือนกับบ้านเดี่ยวเลยแหละ เอาเป็นว่าถ้ามันดูแยกยากนัก เราสังเกตจากระยะห่างระหว่างบ้านแทนก็ได้ เพราะบ้านแฝดจะมีระยะห่างน้อยกว่าบ้านเดี่ยว เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องที่ดิน หลายๆคนเริ่มสงสัยแล้วใช่ไหมว่าข้อจำกัดคืออะไร เราไปดูกฎหมายบ้านแฝดที่เราควรรู้กันค่ะ
กฏหมายบ้านแฝดเบื้องต้นที่ควรเข้าใจเบื้องต้น
- ขนาดที่ดิน : บ้านแฝดใช้ที่ดินเริ่มต้นที่ 35 ตร.วา แต่ในทางกลับกันบ้านเดี่ยวต้องมีขนาดที่ดินมากกว่า 50 ตร.วา ส่วนใหญ่พื้นที่ใช้สอยของ 2 แบบบ้านนี้จะใกล้เคียงกัน แตกต่างกันที่พื้นที่ดินรอบตัวบ้านมากกว่าค่ะ
- ความกว้าง : บ้านแฝดต้องมีหน้ากว้างที่ดินขั้นต่ำ 8 ม. แต่จะไม่สามารถสร้างเต็มที่ดินได้ เพราะตามกฎหมายแล้ว พื้นที่ด้านข้างตัวบ้านจะต้องมี “ที่ว่าง” มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ม. ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างปกคลุม แต่เราสามารถจัดสวน ปลูกต้นไม้ได้ตามปกตินะ
- ความลึก : ข้อจำกัดคล้ายๆบ้านเดี่ยว คือหน้าบ้านต้องมีระยะร่นจากแนวผนังบ้าน 3 ม. และหลังบ้านอีก 2 ม. คำว่า “ระยะร่น” นี้จะอนุโลมให้มีหลังคาปกคลุมได้ แต่ห้ามมีโครงสร้างปิดทึบ และต้องห่างจากแนวเขตที่ดินประมาณ 50 ซม. เพื่อไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้านค่ะ
- ส่วนที่เชื่อมกัน : ไม่ว่าจะเป็นผนัง หรือคาน ที่ใช้รวมกันระหว่าง 2 บ้าน ถือเป็นทรัพย์สินร่วมกัน เวลาจะทุบหรือดัดแปลงต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านก่อนนะคะ
- ช่องเปิด/หน้าต่าง : สำหรับบ้านแฝด ถ้าห่างจากแนวเขตที่ดินไม่เกิน 50 ซม. จะไม่สามารถเจาะช่องเปิด/หน้าต่างได้ แต่ถ้าต้องการเจาะช่องหน้าต่าง ต้องห่างจากแนวเขตที่ดินเกิน 2 ม. หรือเจาะฝั่งที่หันออกด้านหน้าบ้าน และด้านหลังบ้านแทน
อย่างที่เกริ่นไปในตอนต้น “บ้านแฝด” ในปัจจุบันมีรูปแบบค่อนข้างหลากหลาย โดยแต่ละ Developer ก็พยายามพัฒนาแบบให้ดูทันสมัยมากยิ่งขึ้น แบบใหม่ๆที่ออกมาแถบไม่ต่างกับบ้านเดี่ยวเลย โดยเท่าที่เราได้รวบรวมหาข้อมูลมา สามารถแบ่งการเชื่อมต่อออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ เชื่อมเต็มผนัง เชื่อมบางฟังก์ชันในบ้าน เชื่อมกันที่คานด้านบน และเชื่อมกันที่คานชั้นใต้ดิน ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดี/ข้อเสียแตกต่างกัน และแบบไหนที่เหมาะกับใครบ้าง?